รูปแบบกราฟแท่งเทียน ที่มีลักษณะตรงกันข้าม ตอนที่ 2
รูปแบบกราฟแท่งเทียน … ก่อนจะมาดูรูปแบบของกราฟแท่งเทียนกันต่อ ขอพูดถึงข้อดีข้อหนึ่งของวิธีการเทรดแบบดูกราฟแท่งเทียนสักนิดหน่อย เชื่อกันว่าสาเหตุที่กราฟแท่งเทียน หรือ Candlesticks เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่เทรดเดอร์นั้น ก็เพราะกราฟแท่งเทียนมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการวิเคราะห์เพื่อใช้สำหรับการซื้อขาย เนื่องจากประกอบไปด้วย ราคาเปิด (Open Price) , ราคาปิด (Close Price) , ราคาสูงสุด (High Price) , ราคาต่ำสุด (Low Price) โดยนำข้อมูลทั้งหมดมาสร้างเป็นกราฟแท่งเทียนเพียงแท่งเดียว ดังนั้นจึงเป็นการสมควรอย่างยิ่ง ที่เทรดเดอร์ forex จะศึกษาและทำความรู้จักกับกราฟแท่งเทียนให้มากขึ้น
ลักษณะ รูปแบบกราฟแท่งเทียน แบบต่างๆ
Morning doji star pattern และ Bearish Evening Doji Star
Morning doji star pattern (ขาขึ้น)
มีลักษณะและรูปแบบเหมือนกับ Morning star แต่แตกต่างเพียงตัวกลาง โดยจะเปลี่ยนจากแท่งเทียนขนาดเล็กเป็น DOJI แทน มีความหมายเหมือน Morning star แต่แนวโน้มค่าเงินที่จะขึ้นมีน้ำหนักมากกว่า
Bearish Evening Doji Star (ขาลง)
มีลักษณะเหมือน Evening Star แต่แตกต่างเพียงตัวตรงกลาง โดยจะเปลี่ยนจากแท่งเทียนขนาดเล็กเป็น DOJI แทน มีความหมายเหมือน Evening Star แต่มีน้ำหนักในการเปลี่ยนแนวโน้มจากขึ้นเป็นลงมากกว่า
Bullish Engulfing VS Bearish Engulfing
Bullish Engulfing (ขาขึ้น)
Bullish Engulfing คือ รูปแบบที่มีแท่งเทียนแท่งที่สอง (แท่งสีเขียวขวามือ) มีขนาดตัวแท่งยาวกว่าตัวแรก (แท่งสีแดง) ตามความหมายของ engulfing คือ การกลืนกินหรือครอบงำ ซึ่งการพิจารณาจะไม่เกี่ยวกับไส้เทียน (Shadow) ลักษณะของ Engulfing ที่ดีสุด คือ แท่งตัวแรก (สีแดง) ควรจะเล็กสั้น ส่วนแท่งที่สอง (สีเขียว) ควรจะยาว และเพื่อความมั่นใจอาจรอยืนยันแท่งที่สอง-สาม (สีเขียว) ในวันถัดไป โดยแท่งต้องยาวขึ้น และมีแรงซื้อหนาแน่นเพิ่มขึ้น เช่น เปิดราคากระโดดจนมี Gap รูปแบบนี้บ่งบอกถึงแรงซื้อค่าเงินที่เพิ่มมากขึ้น ขาขึ้นกำลังมีอิทธิพล สามารถเอาชนะขาลงได้
Bearish Engulfing (ขาลง)
ตรงกันข้ามกับ Bullish Engulfing คือ เกิดแท่งเทียนสีแดงขึ้น โดยมีลักษณะครอบงำกลืนกินแท่งเดิมที่เป็นสีเขียว ส่วนรูปแบบของ Bearish Engulfing ที่ดีที่สุด ก็คือ แท่งเดิม (สีเขียว) ควรสั้น และเพื่อความแม่นยำมากขึ้น เทรดเดอร์ควรรอดูความหนาแน่นในการขายของแท่งเทียนในอีก2-3วันต่อไป รูปแบบนี้บ่งบอกว่าเริ่มมีแรงขายเข้ามาในจำมาก ตอนนี้ขาลงสามรถชนะขาขึ้นได้แล้ว มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
Bullish Harami VS Bearish Harami
Bullish Harami (ขาขึ้น)
“Harami” เป็นภาษาญี่ปุ่นที่ใช้เรียกคนท้อง และรูปแบบแท่งเทียนนี้มีลักษณะเหมือนคนท้อง ประกอบด้วยแท่งเทียนในวันเเรก (สีแดง) ที่ยาวกว่า ตามด้วยแท่งเที่ยนวันต่อมาที่สั้นกว่า (สีเขียว) ปัจจัยสำคัญ คือ สัดส่วนของแท่งเทียนทั้งสองจะต่างกันมาก จึงยังไม่สามารถยืนยันการกลับทิศทางของค่าเงินได้ ต้องรอการยืนยันจากแท่งเทียนในวันที่ 3 ในการยืนยันการกลับทิศทางของค่าเงินที่ชัดเจนคือ แท่งเทียนตัวที่ 3 จะต้องเป็นสีเขียว และมีราคาเปิดแบบกระโดดจากแท่งเดิม (สีเขียว) มาอยู่ในราคาปิดของแท่งสีเขียวตัวที่ 3 ในราคาที่สูงขึ้นไปมาก
Bearish Harami (ขาลง)
ประกอบด้วยแท่งเทียนในวันเเรก (สีเขียว) ที่ยาวกว่าแท่งเทียนในวันต่อมา (สีแดง) ปัจจัยสำคัญ คือ สัดส่วนของแท่งเทียนทั้งสองจะต่างกันมาก จึงยังไม่สามารถยืนยันการกลับทิศทางของค่าเงินได้ ต้องรอการยืนยันจากแท่งเทียนในวันที่ 3 ในการยืนยันการกลับทิศทางของค่าเงินที่ชัดเจน คือ แท่งเทียนตัวที่ 3 จะต้องเป็นสีเเดง และมีราคาเปิดแบบกระโดดจากแท่งเดิม (สีเเดง) มาอยู่ในราคาปิดของแท่งสีเเดงตัวที่ 3 ในราคาที่สูงขึ้นไปมาก
จากบทความนี้ เทรดเดอร์ได้ทำความรู้จักรูปแบบกราฟแท่งเทียนเพิ่มเติมอีกถึง 3 คู่ด้วยกัน สำหรับตอนต่อไป จะมีรูปแบบกราฟแท่งเทียนชนิดใดมาแชร์ให้ได้รู้จักกันบ้าง ติดตามได้จาก รูปแบบกราฟแท่งเทียนที่มีลักษณะตรงกันข้าม ตอนที่ 3 ได้เลย