Image default
เทคนิคการเทรด Forex

รูปแบบกราฟแท่งเทียนที่มีลักษณะตรงกันข้าม ตอนที่ 4

รูปแบบกราฟแท่งเทียน ที่มีลักษณะตรงกันข้าม ตอนที่ 4

สำหรับการศึกษารูปแบบต่างๆของ รูปแบบกราฟแท่งเทียน นั้น เทรดเดอร์จำเป็นต้องศึกษาอย่างจริงจังและใช้เวลาในการฝึกฝนอย่างต่อเนี่อง เพื่อให้เกิดผลที่มีประสิทธิภาพที่สุด และช่วยในการเทรดทำกำไรในตลาด forex ให้ได้มากที่สุด ยิ่งเกิดความชำนาญมากเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสทำกำไรมากขึ้นเท่านั้น เราไปเริ่มทกความรู้จักกับรูปแบบต่อ ๆ ไปกันต่อได้เลย

รูปแบบกราฟแท่งเทียน

 

รูปแบบกราฟแท่งเทียน ในแบบต่างๆ

Hammer VS Hanging Man

Hammer (ขาขึ้น) 

Hammer มีลักษณะรูปร่างคล้าย Hanging Man  แต่แตกต่างกันตรงที่ Hammer จะเกิดขึ้นตอนขาลง (Downtrend) เป็นแท่งเทียนที่มีรูปร่างคล้ายค้อน (ตัวเทียนจะเป็นสีเขียวหรือแดงก็ได้)  มีขนาดเล็กที่ยอดสูงของวันและมีไส้เทียนด้านล่าง ซึ่งมีความยาวอย่างน้อยเป็น 2 เท่าของแท่งเทียน ส่วนไส้เทียนด้านบนจะมีหรือไม่มีก็ได้ (ไม่มีจะดีกว่า) แท่งเทียนที่เหมือนรูปค้อนนี่มักจะเกิดขึ้นตอนที่มีปริมาณการขายเกิดขึ้นและทำให้ราคาลงต่ำ แต่ก่อนตลาดปิดได้มีปริมาณการซื้อเข้ามาเยอะกว่าการขายในตอนแรก จึงทำให้สุดท้ายแล้วปิดเป็นบวก  บ่งบอกว่าแนวโน้มค่าเงินที่ลงมาจะเปลี่ยนเป็นขึ้นนั่นเอง

รูปแบบกราฟแท่งเทียน

Hanging Man (ขาลง)

Hanging Man มีลักษณะเหมือน Hammer หรือการแขวนคอ รายละเอียดต่าง ๆ ค่อนข้างเหมือนกันกัน แต่แตกต่างกันตรงที่ Hanging Man จะเกิดในช่างขาขึ้น (Uptrend) บ่งบอกว่าแนวโน้มค่าเงินที่ขึ้นมาจะเปลี่ยนเป็นลง

 

 

Bullish Inverted Hammer VS Shooting Star

Bullish Inverted Hammer (ขาขึ้น)

Bullish Inverted Hammer  มีลักษณะเหมือน Hammer แต่จะเกิดในช่วงขาลง เป็นแท่งเทียนที่มีตัวเทียนขนาดเล็ก โดยจะเป็นสีอะไรก็ได้และเกิดที่ระดับราคาต่ำสุดของวัน มีไส้เทียนทางบนที่อย่างน้อยควรมีความยาวมากกว่าตัวเทียน (Real body) 2 เท่า บ่งบอกว่าหุ้นจะเปลี่ยนแนวโน้มเป็นขึ้น ซึ่งจะมีน้ำหนักมากขึ้น หากมีแท่งเทียนสีเขียวเกิดขึ้นตามมา

รูปแบบกราฟแท่งเทียน

 

 

Shooting Star (ขาลง)

Shooting Star มีลักษณะเป็นแท่งเทียนขนาดสั้นแต่มีไส้บนยาว (Upper Shadow) ส่วนไส้ด้านล่าง ( Lower Shadow) จะสั้นมากหรืออาจจะไม่มีเลยก็ได้ (ไม่มีจะดีกว่า) รูปแบบของ Shooting Star จะเกิดขึ้นในช่วงตลาดขาขึ้น  และแท่งเทียนเพียงแท่งเดียวยังไม่สามารถยืนยันน้ำหนักทิศทางการกลับตัวของค่าเงินจากขึ้นเป็นลงได้ ต้องอาศัยแท่งเทียนในวันถัดไปที่เป็นสีแดงอีกทีเพื่อความมั่นใจ บ่งบอกว่าแนวโน้มของค่าเงินที่ขึ้นมาจะเปลี่ยนเป็นลง

รูปแบบกราฟแท่งเทียน

 

 

Bullish Belt Hold VS Bearish Belt Hold

Bullish Belt Hold (ขาขึ้น)

Bullish Belt Hold มีลักษณะเป็นแท่งสีเขียวที่มีราคาเปิดตกลงมาจากวันก่อนมาก และไม่มีไส้เทียนด้านล่างเกิดขึ้นเลย (Lower Shadow) จากนั้นมีแรงซื้อที่ดึงราคาหุ้นหรือค่าเงินขึ้นไปเรื่อย ๆ จนไปปิด ณ จุดที่ใกล้เคียงระดับราคาสูงสุดของวัน จึงทำให้เป็นลักษณะมีไส้ด้านบนเพียงสั้น ๆ เพื่อความมั่นใจในทิศทางกลับจากขาลงเป็นขาขึ้น ควรรอแท่งเทียนสีเขียวอีกตัวที่มีราคาปิดที่สูง ๆ ขึ้นมาอีกเป็นการยืนยันเสียก่อน

รูปแบบกราฟแท่งเทียน

 

 

Bearish Belt Hold (ขาลง)

Bearish Belt Hold มีลักษณะเป็นแท่งเทียนสีแดง มีราคาเปิดที่สูงขึ้นมาจากวันก่อนมาก แต่พอมาถึงวันสุดท้ายล่าสุด ราคาเปิดไม่เพิ่มขึ้น อยู่กับที่เท่าเดิมเท่ากับในราคาเปิดของเมื่อวาน ทั้งยังไม่มีไส้เทียนด้านบนเกิดขึ้นเลย (ราคาไม่เพิ่มขึ้น) บวกกับมีแรงขายในราคาลดลงเป็นจำนวนมากขึ้น จนดันให้ราคาปิดของหุ้นหรือค่าเงินต่ำลงไปจนใกล้ถึงราคาต่ำสุดของวัน จึงเกิดเป็นลักษณะมีไส้เทียนสั้นๆตรงด้านล่าง เพื่อความมั่นใจของทิศทางการกลับตัวจากขาขึ้นเป็นขาลง ควรรอให้เกิดแท่งเทียนสีแดงขึ้นอีกครั้ง เป็นการยืนยันเสียก่อน

รูปแบบกราฟแท่งเทียน

 

 

จบไปแล้วกับรูปแบบกราฟแท่งเทียนที่มีลักษณะตรงกันข้าม ตอนที่ 4 เทรดเดอร์ได้ทำความรู้จักกับกราฟแท่งเทียนในรูปแบบต่าง ๆ มาได้หลายรูปแบบแล้ว แต่ยังคงมีรูปแบบอื่น ๆ ที่ควรทราบรอให้ทำความรู้จักเพิ่มเติมอีกมากมาย เชิญติดตามในตอนต่อไปพร้อม ๆ กัน



Related posts

เปลี่ยนสีเส้นสเปรด ด้วย Blue spread

Admin

การใช้งาน Indicator Center of Gravity ในการทำกำไร

Admin

MACD Indicator ที่ได้รับความนิยมที่สุด

Admin

Leave a Comment