Image default
บทความ Forex เทคนิคการเทรด Forex

มองแนวโน้ม ขึ้น-ลง ตามที่คาดการณ์ด้วย อินดิเคเตอร์ Volume

มองแนวโน้ม ขึ้น-ลง ตามที่คาดการณ์ด้วย อินดิเคเตอร์ Volume

เมื่อพูดถึง อินดิเคเตอร์ Volume (ตัวชี้วัด “ปริมาณการซื้อขาย”) ในตลาด Forex มักจะไม่ค่อยมีใครพูดถึง หรือนิยมใช้กัน เนื่องจากตลาด Forex เป็นตลาดที่มีปริมาณการซื้อขายที่มหาศาล ดังนั้น จึงเป็นไปได้ยากที่จะติดตามปริมาณที่แท้จริงของปริมาณเงินที่เข้ามา และมีอินดิเคเตอร์อื่นที่ทำหน้าที่ได้ดีกว่า ง่ายกว่า

 

 

อินดิเคเตอร์ Volume

อย่างไรก็ตาม ไม่มีอินดิเคเตอร์ไหนในโลกที่ใช้โดดๆ แล้วได้กำไร 100% เช่นเดียวกับ Volume มันสามารถใช้ได้ดีที่เดียว เมื่อมีการวิเคราะห์โดยอาศัยอินดิเคเตอร์หรือเครื่องมืออื่นประกอบ เช่น Trend, แนวรับแนวต้าน เป็นต้น โดยส่วนตัวแล้ว ผมมักจะใช้แรง Volume กับการเทรดลักษณะที่เป็นไปตามแนวโน้ม (Follow Trend) บนพื้นฐานที่ว่า “แนวโน้มเป็นเพื่อนที่ดีที่สุด”

อินดิเคเตอร์ Volume

จากภาพวิธีการใช้งาน เป็นลักษณะ แถบสีเขียวและสีแดง เมื่อกราฟราคามีปริมาณการซื้อขายแท่งเทียนของปัจจุบัน มากกว่าแท่งเทียนก่อนหน้า แถบ Bar จะเป็นสีเขียว กลับกัน เมื่อกราฟราคามีปริมาณการซื้อขายแท่งเทียนของปัจจุบัน น้อยกว่าแท่งเทียนก่อนหน้า แถบ Bar จะเป็นสีแดง นั่นเอง สามารถใช้ดูความแข็งแรงของแนวโน้มภาพรวม หรือแม้กระทั่งเป็นจุดที่เข้าทำกำไรได้อีกด้วย

 

อินดิเคเตอร์ Volume

ตัวอย่างการใช้งานร่วมกับ เส้นแนวโน้ม และแนวรับแนวต้าน กรณีการเข้า SELL

สำคัญที่สุด ต้องมองตลาดให้ออกก่อนว่า อยู่ในช่วงตลาดแบบใด กรณีตามภาพด้านบน เมื่อกราฟราคาเดินทางมายังจุด  A ลากเส้น แนวโน้ม (Trend Line) บน-ล่างเพื่อทำให้ทราบว่าอยู่ในสภาวะตลาดหมี และสร้างกรอบความน่าจะเป็นที่กราฟราคาจะเดินตามช่องดังกล่าว เมื่อกราฟราคาเดินขึ้นไปยังจุด B ซึ่งอาจะเป็นจุดที่กราฟขึ้นมาพักตัว โดยที่จุด A จะกลายเป็นแนวรับอ้างอิงตามเส้นประโดยทันที และเมื่อราคาหลุดเส้นแนวรับลงมา รอ Volume ให้เกิดแท่งสีเขียว (ตามลูกศร) แสดงถึงปริมาณการขายที่มากขึ้น นึกภาพง่ายๆคือ เริ่มมีคนโดดเข้ามาในตลาด จึงค่อยเปิด ออเดอร์ SELL ตาม Trend Line ที่เราวางแผนไว้

 

อินดิเคเตอร์ Volume

ตัวอย่างการใช้งานร่วมกับ เส้นแนวโน้ม และแนวรับแนวต้าน กรณีการเข้า Buy

            กรณีตามภาพด้านบน เมื่อกราฟราคาเดินทางมายังจุด  A ลากเส้น แนวโน้ม (Trend Line) บน-ล่าง เพื่อทำให้ทราบว่าอยู่ในสภาวะตลาดกระทิง และสร้างกรอบความน่าจะเป็นที่กราฟราคาจะเดินตามช่องดังกล่าว เมื่อกราฟราคาเดินขึ้นไปยังจุด B ซึ่งอาจะเป็นจุดที่กราฟขึ้นมาพักตัว โดยที่จุด A จะกลายเป็นแนวต้านอ้างอิงตามเส้นประโดยทันที และเมื่อราคาหลุดเส้นแนวต้านขึ้นไป รอ Volume ให้เกิดแท่งสีเขียว (ตามลูกศร) แสดงถึงปริมาณการซื้อที่มากขึ้น จึงค่อยเปิด ออเดอร์ Buy ตาม Trend Line ที่เราลากเป็นแนวไว้


Related posts

Accumulation Swing Index คืออะไร

Admin

Partner คือ อะไร ในการเทรด forex

Admin

การ Trade Forex แนะ 5 ทริคเพื่อ ประสบความสำเร็จใน การ Trade Forex

Admin

Leave a Comment