Image default
เทคนิคการเทรด Forex

รูปแบบกราฟแท่งเทียนที่มีลักษณะตรงกันข้าม ตอนที่ 5

รูปแบบกราฟแท่งเทียน ที่มีลักษณะตรงกันข้าม ตอนที่ 5

เข้าสู่ตอนที่ 5  ในการทำความรู้จักรูปแบบต่าง ๆ ของ รูปแบบกราฟแท่งเทียน กันแล้ว สำหรับเทรดเดอร์ท่านใดที่ต้องการศึกษารูปแบบต่าง ๆ ของกราฟแท่งเทียน ขอแนะนำว่าให้อ่านครบทั้งหมด 8 ตอน เนื่องจากจะได้ความรู้ใหม่ ๆ มาทดลองใช้ในการเทรด forex ของตัวเองต่อไป

รูปแบบกราฟแท่งเทียน

 

รูปแบบกราฟแท่งเทียน ในแบบต่างๆ

Bullish Gravestone Doji VS Bearish Gravestone Doji

Bullish Gravestone Doji (ขาขึ้น)

เป็นรูปแบบที่มีราคาเปิดเท่ากับราคาปิด ประกอบด้วยไส้เทียนด้านบน (Upper Shadow) เท่านั้น  จะไม่มีไส้เทียนด้านล่าง ( lower Shadow) มีลักษณะคล้ายกับ Inverted Hammer ต่างกันตรงที่ Stone doji ไม่มีตัวที่เป็นแท่ง (Body) เทรดเดอร์ควรรอแท่งเเท่งเทียนอีกตัวที่เป็นสีเขียวเป็นการยืนยัน  รวมทั้งให้มีราคาเปิดสูงกว่าราคาปิดของ doji  และหากเปิดด้วยราคา gap มากเท่าไร ยิ่งเป็นการยืนยันการกลับตัวแรงมากขึ้นเท่านั้น

รูปแบบกราฟแท่งเทียน

 

Bearish Gravestone Doji (ขาลง)

มีรูปแบบลักษณะและความหมายก็ตรงกันข้ามกับ Bullish Gravestone Doji คือ เกิดเป็นรูปแบบ Bearish Gravestone Doji เนื่องจากราคาเปิดเท่ากับราคาปิดในปัจจุบัน และมีไส้เทียนเกิดขึ้นอยู่ด้านบน ซึ้งก่อนหน้านี้อยู่ในช่วงขาขึ้น โดยมีแท่งเทียนสีเขียวที่มีแรงซื้อสะสมมาอย่างต่อเนื่อง ต่อมาล่าสุดเกิด Bearish Gravestone Doji เพราะแรงซื้อสู้แรงขายไม่ได้ ทำให้ค่าเงินปรับตัวลดต่ำลงมาปิดใกล้เคียงหรือเท่ากับราคาเปิด เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลเพราะซื้อไว้ในราคาสูง ทำให้เกิดแรงขายสะสมในวันถัดมา เทรนด์สัญญาณการพลิกตัวกลับนี้ ควรรอดูแท่งเทียนที่เกิดเป็นสีแดงอีกตัวในวันอีกวันเป็นการยืนยัน

รูปแบบกราฟแท่งเทียน

Three Inside Up VS Three Inside Down

Three Inside Up (ขาขึ้น)

เป็นรูปแบบที่มีพื้นฐานมาจาก harami โดยเพิ่มแท่งเทียนแท่งที่สามเข้ามาเพื่อเป็นการยืนยันทิศทางหุ้นจะปรับทิศ ทางเป็นขาขึ้นได้ เหตุที่แท่งที่สามที่เป็น white candle สามารถยืนยันการกลับทิศทางเป็นขาขึ้นได้นั้น เพราะมันสามารถ breakout แนวต้านที่เกิดจากการลากเส้นเชื่อมระหว่างราคาเปิดของแท่งดำ และราคาปิดของ white small body เงื่อนไขการเกิดรูปแบบ three inside up ในระหว่างที่ราคาหุ้นมีทิศทางที่ปรับลดลงต่อเนื่องและเมื่อแรงเทขายสามารถ control ตลาดได้ทำให้กราฟเกิดเป็นแท่งดำ จากนั้นในวันที่สองถัดมา ราคาเปิดอยู่เหนือราคาปิดของแท่งดำ ทำให้เกิดสัญญาณว่า ราคาหุ้นไม่น่าจะต่ำกว่าเมื่อวานอีกแล้ว แต่เนื่องจากการเกิด small body ของแท่งเทียนวันที่สองนั้น บ่งบอกถึงแรงซื้อและแรงขายยังดูท่าทีกันอยู่ ยังไม่มีฝ่ายใดสามารถ control ตลาดได้ จึงต้องยืนยันด้วยแท่งเทียนของวันที่สาม เมื่อแท่งเทียนของวันที่สามเป็น white candle ที่มีราคาปิดสูงกว่าราคาเปิดของแท่งเทียนดำวันแรก แสดงให้เห็นว่าแรงซื้อสามารถเอาชนะแรงขายและ control ตลาดได้จึงส่งสัญญาณเกิด reversal ขึ้นต่อไปได้ ปัจจัยที่สำคัญ คือ รูปแบบ Three Inside Up เป็น pattern ที่มีความน่าเชื่อถือสูง แต่ถ้าจะให้มั่นใจยิ่งขึ้นแท่งเทียนแท่งที่สามควรเป็น white candle ที่มีราคาเปิดกระโดด gap จากแท่งที่สอง หรือมีราคาปิดของแท่ง white candle ปิดที่ระดับราคาสูง

รูปแบบกราฟแท่งเทียน

Three Inside Down (ขาลง)

เป็นรูปแบบที่มีพื้นฐานมาจาก harami โดยเพิ่มแท่งเทียนแท่งที่สามเข้ามาเพื่อเป็นการยืนยันว่าทิศทางจะปรับเป็นขาลงได้ เหตุที่แท่งที่สามที่เป็น black candle สามารถยืนยันการกลับทิศทางของหุ้นเป็นขาลงได้นั้น เพราะมันสามารถ breakdown แนวรับที่เกิดจากการลากเส้นเชื่อมระหว่างราคาเปิดของแท่งขาวและราคาปิดของ small black body ปัจจัยที่สำคัญ คือ รูปแบบ Tree Inside Down เป็น pattern ที่มีความน่าเชื่อถือสูง แต่ถ้าจะให้มั่นใจยิ่งขึ้นแท่งเทียนแท่งที่สามควรเป็น  black candle ที่มีราคาเปิดกระโดด gap จากแท่งที่สอง  หรือมีราคาปิดของแท่ง black candle ปิดที่ระดับราคาต่ำราคาเปิดของ  white candle

 

อย่างไรก็ตาม การศึกษารูปแบบของกราฟแท่งเทียนเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอต่อการที่จะประสบความสำเร็จในการเทรด forex ได้ เพราะยังมีปัจจัยสำคัญอยู่ที่ความชำนาญและประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ขอให้เทรดเดอร์อย่าลืมข้อสำคัญตรงจุดนี้ไปอย่างเด็ดขาด


Related posts

มาทำความรู้จัก Fibonacci Fans คืออะไร กัน

Admin

ใช้ CCI อย่างไร ให้ได้ประโยชน์สองต่อ

Admin

iclockmode Indicator บอกเวลาแท่งเทียน

Admin

Leave a Comment